วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

       
                                                          พระร่วงหลังรางปืน
                         
                จากหลักฐานทางโบราณทางวัตถุและโบราณสถาน ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวโยงและมีความสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรมยุคสมัยสุโขทัยกับอารยธรรมขอมประเทศเขมร จึงทำให้ไม่มีข้อสงสัยเลยถึงที่มาของ พระร่วงหลังรางปืน ได้กำเนิดขึ้นในยุคอารยธรรมขอมโบราณในช่วงเรืองอำนาจบนพื้นแผ่นดินสุโขทัยยุคต่อมาหรือไม่ เพราะจากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมแบบขอม ได้แก่ ศาลตาผาแดงซึ่งได้พบประติมากรรมรูปเทวดา เทวนารีมีทั้งขนาดเล็กกว่าคนและเท่าคน สลักลอยตัวด้วยหินทราย เทียบได้กับรูปแบบศิลปะนครวัด นครธม หรือนั้นคือศิลปะบายนซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระชัยวรมันที่ 7 มหาราชแห่งอาณาจักรขอมปราสาทแบบขอมในยุคนี้แทบจะเกิดขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย และหลักฐานที่ชี้ชัดในอาณาจักรสุโขทัย คือปราสาทขอมที่วัดเจ้าจันทร์ ศรีสัชนาลัยคือหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่บ่งถึงการมีอยู่ของวัฒนธรรมขอมศิลปกรรมเหล่านี้มีมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งสำคัญของอาจักรสุโขทัย ดังนั้นพระพิมพ์ก็เป็นหลักฐานทางโบราณวัตถุอย่างหนึ่ง ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาและเกี่ยวพันของอารยธรรมในอดีตได้เป็นอย่างดี ได้มีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผาในกรุวัดพระพายหลวง วัดมหาธาตู และวัดศรีชุม เป็นพระพิมพ์ที่มีศิลปะลพบุรี เช่นพระพิมพ์นารายณ์ทรงปืน พระตรีกาย พระซุ้มปรางค์ พระปางแสดงปาฏิหารย์ เป็นต้น มีพระพิมพ์อีกพิมพ์ที่มีศิลปะขอมเข้มข้น เป็นพระปางห้ามญาติ สร้างด้วยเนื้อโลหะ**มีพระทรงราชาภรณ์หรือที่เรียกสามัญว่า "พระร่วงทรงเครื่อง"หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ พระร่วงหลังรางปืน ซึ่งในวงการนักนิยมพระเครื่องยกย่องให้เป็นจักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน พระร่วงหลังรางปืน คือสุดยอดงานศิลปะบายนแบบขอมโดยฝีมือช่างอันเอกอุแห่งอารยธรรมขอมโบราณ พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่มีศิลปะขอมอย่างบริสุทธิ์เช่นเดียวกับพระปฏิมากรรมขนาดใหญ่แห่งปราสาทนครวัด แววพระพักตร์และการแสดงออก ทางลีลา ลักษณะฉายแววแห่งความมีชีวิตและคุณพระพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ที่แฝงอยู่ในพระ ให้เราได้สัมผัสได้ทั้งทางจักษุและมโนธรรม เนื้อตะกั่วสนิมเขียวหรือสนิมแดง โดยปกติพระร่วงหลังรางปืน มีไขจัดแต่องค์นี้ไขรวมผสมกับเนื้อขององค์พระได้อย่างลงตัวหรือเรียกได้ว่าโลหะกายเป็นหินทั้งองค์มีความงดงามซาบซึ้งหาที่ติไม่ได้ซ้ำยังเป็นพระนอกวงการ
เนื้อ เนื้อชินสนิมเขียวยก
ขนาด ความสูงประมาณ 8.0 ซม. ความกว้างประมาณ 2.5 ซม.

                                                                   ลักษณะ


                                          พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พิมพ์ใหญ่ฐานสูง
















                       
                 
                 เป็นพระยอดขุนพลเนื้อชินอันดับ 1 ที่มีความงดงามและอลังการมากและยังเป็นที่เชิดหน้้าชูตาให้กับแหล่งกำเนิดคือจ.สุโขทัยให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรได้ให้คนรู้จักได้เป็นอย่างมากไม่ว่าชนชั้นลำดับไหนในประเทศต่างก็อยากจะมีไว้ครอบครองทั้งสิ้น

                                                                          ด้านหน้า



1.เป็นพระพุทธประทับยืนใต้ซุ้มเรือนแก้วปางประทานพรยกพระหัตถ์ขวาหงายเสมอพระอุระพระหัตถ์ซ้าย  ทิ้งด้านข้างลักษณะหงายฝ่ามือ
2.พระวรกายทรงเครื่องจอมกษัตริย์
3.พระเศียรทรงเทริดชีโบศิลปะขอมบายนได้ลักษณะสง่างามเสมือนหนึ่งพระบูรพระกษัติญาทิราชเจ้าผู้ทรงมีพละกำลังอำนาจครอบคลุม สามไตรภพ
4.พระพักตร์ใหญ่มีพลังอำนาจหน้าเกรงขามรับกับพระเนตรโปนโต
5.พระปรางซ้ายขวารับกันแย้มพระสรวลเล็กน้อยและพระนาสิก(จมูก)เจ้าเนื้อคล้ายกับเทพกวนอูผู้ยิ่งใหญ่ของชาวจีนที่เปี่ยมล้นด้วยพลังอำนาจความกล้าหาญเด็จเดี่ยวและไหวพริบปฎิภารช้ำชองการศึกสงครามและคุณธรรมซื้อสัตย์ จริงจัง จริงใจ
4.พระโอษฐ์(ริมฝีปาก)บนพองามและส่วนล่างหนาใหญ่คล้ายกับพระนารายณ์อวตาลในสมัยขอมบายน
5.ปลายพระกรรณ(หู)ซ้ายและขวาจะมีต่างหูแบบปลายภู่กรรณคล้องอยู่ซึ่งเป็นลักษณะตัวแทนพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจ
6.พระศอ(คอ)จะมีสร้อยสังข์วาลของเทพบนสรวงสวรรค์คล้องอยู่ซึ่งเป็นลักษณะเสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนพระวิษณุกรรมพระผู้สร้างโลก
7.ตั้งแต่พระอุระลงมาถึงช่วงเอวคล้ายกับสวมใส่เสื้อบางแบบรัดรูปคลุมอยู่เสมือนหนึ่งจอมกษัตริย์ออกว่าราชการในยุคสมัยสุโขทัยโบราณ
8.รัดประคตจะมีการเดินรวดลายสวยงาม
9.ฉากหลังทรงคลุมพระวรกายแบบจอมกษัตริย์บรรชาการรบ
10.พระยืนประทับบนฐานสูง 2 ชั้นเสริมสร้างความโอ่อ่าอลังการมาก














                                                                     ด้านหลัง






 1.เป็นผิวกาบหมาก ปรากฏรอยขีดเป็นเส้นลึกและนูนสลับกันไปตรงกลางตามความยากขององค์พระเป็นร่องรางอันเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่มาของพระนาม "พระร่วงหลังรางปืน"
2.จุดสังเกตุหลังพระร่วงฐานสูงจะมีโค๊ตหรือรหัสรับตายตัวถ้าใครมีพระแท้อยู่ในมือจะเข้าใจซึ่งเป็นจุดตัดสินพระร่วงพิมพ์ฐานสูงได้
3.ปฏิกิริยาที่เกิดในเสี้ยนลายไม้แต่ละเสี้ยนของหลังพระร่วงหลังรางปืนจะพบว่าเนื้อของพระจะหลอมรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันมีทั้งสนิมแดงไขขาวสนิมขุมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหลายร้อยปีโดยปฏิกิริยานี้จะเกิดได้ต้องมีความร้อนความชื้นสัมพัทธ์บริเวณรอบๆประกอบมีสารอินทรีย์ และอนินทรีย์ที่ทับถมคล้ายๆราดำที่ยึดเกาะกับหลังพระเป็นเวลาเกือบ 1,000 ปีขึ้นไปจึงจะเกิดได้ปฏิกิริยาดังกล่าวจึงอยากต่อการปลอมแปลงพระ ดังนั้นเซียนใหญ่นอกจากจะดูพิมพ์แล้วยังให้ความสำคัญกับหลังพระร่วงมาก






























                                              ปรากฏการใต้ฐานพระร่วงและหลังพระร่วง


                  ฐานพระร่วงและหลังพระร่วงหลังรางปืนเป็นจุดที่สำคัญที่จุดหนึ่งที่สามารถยืนยันความเป็นพระแท้ได้เป็นอย่างดี เพราะว่าปราฏการณ์ที่เกิดขึ้นใต้ฐานและหลังพระร่วงเกิดขึ้นจากการเทหล่อองค์พระ จะสามมารถศึกษาได้จากองค์พระร่วงทีมีความสมบูรณ์เท่านั้นจ ากข้อสังเกตุของผู้เขียนจะพบว่าพระร่วงหลังรางปืนฐานสูงเซียนพระจะให้นิยามคำว่าฐานสูงนั้นจะสังเกตุได้ว่าฐานองค์พระร่วงจะมีฐานตั้งแต่ 2 ชั้น และไม่น่าจะเกิน 3 ชั้นเท่าที่พบเห็นในหนังสือพระที่โชว์พระอยู่ ส่วนคำว่าฐานเตี้ย คือฐานชั้นเดียวและส่วนคำว่าหลังรางปืนนั้นจะถูกนิยามจากองค์พระที่มีลัษณะหลังร่องลึกเป็นส่วนใหญ่ จากการศึกษาพิมพ์ของพระร่วงหลังร่างปืนฐานสูง พบว่าหลังของพิมพ์ร่วงฐานสูงจะเป็นเอกลักษณ์ตายตัว คือถูกกับกำหนดจากแม่พิมพ์ไม่น่าจะมีการมาปาดหลังพระด้วยวัสดุต่างๆ ถ้าสังเกตุดีๆ หลังของพระร่วงพิมพ์ฐานสูงจะมีโค๊ดและรหัสเหมือนกันทุกองค์ ส่วนฐานขององค์พระจะมีการปรับแต่งได้คือแล้วแต่จะตัดส่วนของฐานเช่น 2 ชั้น 3 ชั้นแล้วแต่ความเหมาะสม ดังนั้นการเทหล่อองค์พระแน่นอนว่าถูก Fixed ไว้จากแม่พิมพ์และปรากฏการณ์ใต้ฐานพระร่วงจากรูปข้างล่างเป็นอธิบายให้เห็นภาพได้จึงได้นำปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดลลาวามาอธิบาย


                           

         สมมุติให้โลหะที่มีความร้อนสูงเทลงสู่แม่พิมพ์ส่วนฐานพระร่วงสามารถเปรียบได้กับรูปที่ 1 คือหินภูเขาไฟขณะกำลังหลอมเหลว และเกิดการปะทุหรือเรียกว่าลาวาจะไหลจากปล่องภูเขาไฟ และเมื่อการระเบิดของภูเขาไฟสงบลงจะมีของเหลวที่เรียกว่าลาวาเกิดการไหลย้อนกลับ บางส่วนลงสู่แกนโลกเปรียบเสมือนช่างกำลังเทโลหะที่มีความร้อนสูงลงสู่แม่พิมพ์พระร่วงจากส่วนฐานพระร่วงลงสู่ส่วนเศียรพระและเมื่อโลหะเย็นลงช้าๆ ขณะเดียวกันของเหลวจะค่อยๆ ทรุดตัวลงที่ละน้อยๆจ นอิ่มตัวตามรูปที่ 2 เป็นรูปปากปล่องภูเขาไฟขณะเย็นตัวลงของเหลวที่เรียกว่าลาวาจะมีลักษณะคล้ายๆ กับฐานพระร่วงหลังรางปืนในรูปที่ 5
        ปรากฏกาณ์ในรูปที่ 5 จะเกิดขึ้นได้นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมันไม่ใช่ความบังเอิญหรือจะทำขึ้นมาง่ายๆ หลังจากนั้นพอเวลาเปลี่ยนแปลงไปนานเข้าหลายร้อยปีก็จะมีการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตโดยสภาพแวดล้อมเป็นตัวบ่มเพาะจนผสมเป็นเนื้อเดียวกันเรียกว่าคราบกรุหรือ fossil ในรูปที่ 3 และรูปที่ 4 ตามลำดับ ปรากฏการณ์ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ก็คือแบบจำลองมาของฐานพระร่วงดังนั้นยากมากที่จะทำได้จากฝีมือของมนุษย์ และนี้เองเป็นจุดที่จะสามารถชี้ขาดความเป็นของพระแท้ของพระร่วงหลังรางปืนได้อีกจุดหนึ่ง

พระพุทธคุณ
           พระร่วงหลังรางปืนเชื่อว่ามีพระพุทธคุณสูงสุดทุกด้าน ทั้งทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ ให้ความสวัสดิมงคลอันประเสริฐ บำรุงขวัญกำลังใจอันปราศจากความกลัวจากภัยอันตรายทั้งปวง เป็นพระเครื่องที่หายากและได้รับความนิยมสูงสุดในประเภทพระเนื้อชินทั้งหมด


จากทัศนคติ
         พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระที่มีพุทธคูณสูงส่งทุกๆด้านถ้าใครมีไว้ครอบครองและมีศีลมีธรรมะประกอบแล้วพระพุทธานุภาพย้อมเพิ่มพลังบารมีของผู้ครอบครองอย่างหาที่สุดไม่ได้


โดย
           ดร.คมเพชร ปักคำวงษ์สังข์ :เจ้าของพระและผู้เรียบเรียง




















3 ความคิดเห็น:

  1. พระร่วงพระพักต์ขอม เนื้อตะกั่วสนิมเขียว ซ้ำยังเป็นพระนอกวงการอีกด้วย โอ้ว.พระจ้าว ขอบคุณที่ให้ชม สวยครับ สวยเหลือเกิน งดงามจริงๆ๊ง

    ตอบลบ
  2. จากภาพสันนษฐานว่า เป็นพระเนื้อข้นก้นถ้วยซึ่งโลหะที่เหลือจะมีส่วนผสมของ เงิน ดีบุก เพราะมีตวามหนาแน่นมากและต้องอุณหภูมิหลอมละลายสูง เนืื้อสัมเงินนะมีเปลือกชั้นผิวที่เกิดจากออกไซค์ จะมีสนิมสีเขียวและเนื้อจะแข็งกว่า เนื้อสังกะสี เนื้อตะกั่วจุดหลอมละลายต่ำจะลอยอยู่บนเหนือปริเวรปากถ้วยและเทก่อน เนื้อสังกะสีหรือชินเขียว เนื้อชินเหนียวจะอยู่ต่ำลงมา เนื้อชินเหนียวจะเปรียบได้กับพระมเหศวร ส่วน ชินตะกั่วผสมกับโลหะหลายชนิดและปรอท เนื้อค่อนข้างแข็งเปราะ แดงใส หรือที่เราเรียกว่า ชินสนิมแดง ชินเงินสีผิวสีดำ ชินดีบุกผิวสีขาวและเนื้อก้นถ้วยเนื้อโลหะเข้มข้นสุดคือเนื้อสัมฤทธฺ์ เนื้อแข็งสนิมเขียว การวิเคราะห์ต้องใช้หลักการของโลหะวิทยาช่วย การทำแม่พิมพ์ ปั้นหุ่น และการหลอมเนื้อโลหะ กว่าจะมาเป็นพระแต่ละองค์ได้ต้องใช้เวลา ครับ

    ตอบลบ
  3. พระองค์นี้ สวยแท้ ดูง่าย ครับ

    ตอบลบ